แบบฝึกหัด-เฉลย
1. ทิศทางของไอออน He+ และ Ne+ เคลื่อนที่ไปด้วยกัน ผ่านสนามไฟฟ้า แนวทางการเคลื่อนที่ของไอออนทั้งสองควรมีลักษณะตามข้อใด (PAT-2 ก.ค.52)
ก. เคลื่อนที่เป็นสองแนวแยกกันไปในทิศตรงข้าม
ข. เคลื่อนที่เป็นสองแนวในทิศทางเดียวกัน โดย He+ มีรัศมีการเลี้ยวเบนสั้นกว่า
ค. เคลื่อนที่เป็นสองแนวในทิศทางเดียวกัน โดย Ne+ มีรัศมีการเลี้ยวเบนสั้นกว่า
ง. เคลื่อนที่เป็นแนวทางเดียวกัน
เฉลย ข. เพราะ Ne+ และ He+ จะเคลื่อนไปด้าน Cathode เช่นกัน แต่ Ne+ จะเลี้ยวเบนได้ระยะทางที่ยาวกว่า (ไกลกว่า) เนื่องจากมีมวลหนักกว่า จึงมีแรงเฉื่อยในการเคลื่อนที่มากกว่า
2. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจน (PAT-2 มี.ค.58)
ก. แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
ข. ระดับชั้นพลังงานของอิเล็กตรอน
ค. แบบจำลองอะตอมกลุ่มหมอก
ง. รัศมีวงโคจนของอิเล็กตรอน
เฉลย ก. เพราะ แบบจำลองของรัทเทอร์ฟอร์ด มีระดับพลังงานชั้นเดียว จึงอธิบายเกี่ยวกับสเปกตรัมไม่ได้
3. พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้
I. อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสและอิเล็กตรอน
II. อิเล็กตรอนโคจนรอบนิวเคลียส โดยมีวงโคจรที่แน่นอน
III. การดูดหรือคายพลังงานของอิเล็กตรอน จะทำให้อิเล็กตรอนเปลี่ยนระดับพลังงาน
IV. โอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนขึ้นอยู่กับระยะห่างจากนิวเคลียส
ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับแบบจำลองอะตอมกลุ่มหมอก (PAT-2 พ.ย.58)
ก. I , II
ข. II , IV
ค. II , III
ง. I , II และ III
เฉลย ข. เพราะแบบจำลองแบบกลุ่มหมอก อธิบายว่า อิเล็กตรอนโคจรรอบนิวเคลียส ไม่มีวงโคจรที่แน่นอน แต่จะพบอิเล็กตรอนอยู่ในออร์บิทัล และโอกาสพบอิเล็กตรอนบริเวณหมอกหนาทึบมากกว่าบริเวณที่มีหมอกจางไม่ใช่ขึ้นอยู่กับระยะห่างจากนิวเคลียส
4. ข้อใด ถูกต้อง เกี่ยวกับแบบจำลองอะตอมกลุ่มหมอก (PAT-2 พ.ย.58)
ก. อิเล็กตรอนอยู่ไม่ประจำที่
ข. อิเล็กตรอนกระจายอย่างไม่สม่ำเสมอในอะตอม
ค. ระดับชั้นพลังงานของอิเล็กตรอนมีค่าไม่แน่นอน
ง. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสโดยมีรัศมีวงโคจรแน่นอน
จ. ความน่าจะเป็นที่จะพบอิเล็กตรอนมีค่าไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ
เฉลย จ. เพราะบริเวณที่มีหมอกหนาทึบ มีโอกาสพบอิเล็กตรอนมากกว่า บริเวณที่หมอกจาง
บทตารางธาตุ สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ
5. ธาตุ X เมื่อเกิดสารประกอบไอออนิกกับธาตุออกซิเจนพบว่าได้สารที่มีสูตรเคมีเป็น XO2 โดยออกซิเจนในสารประกอบมีการจัดอิเล็กตรอนเป็น 1s2 2s2 2p5 จากข้อมูลข้างต้นข้อใดถูกต้อง
(PAT-2มี.ค.54)
ก. X เป็นอโลหะ
ข. X เป็นธาตุในคาบ 2
ค. X เป็นธาตุที่อยู่หมู่เดียวกับธาตุที่มีเลขอะตอม 88
ง. X เป็นธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากที่สุดในตารางธาตุ
เฉลย ค. เพราะจากการจัดเรียงอิเล็กตรอนของออกซิเจนเป็น 1s2 2s2 sp5 แสดงว่าออกซิเจนรับอิเล็กตรอนมาเพียง 1 ตัว เพื่อเกิดสารประกอบไอออนิกออกซิเจนจึงเป็นไอออนลบหนึ่ง (O-) เมื่อคิดเลขออกซิเดชันของสารประกอบเป็นดังนี้ X (+2) O2 (-1)
6. พิจารณาสูตรเคมี และสมบัติของสารประกอบระหว่างไนโตรเจนกับธาตุสมมติ A , D , E และ G
ในตารางต่อไปนี้ โดยที่ธาตุสมมติเหล่านี้อยู่ในคาบเดียวกัน
สารประกอบไนโตรเจนของ | สูตรเคมี | สมบัติ |
A | A3N | จุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำมาก |
B | D3N2 | จุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงมาก |
C | E3N4 | จุดหลอมเหลวสูงมากถึง 1900 องศาเซลเซียส |
D | G2N2 | โครงสร้างเป็นวง แรงยึดระหว่างโมเลกุลเป็นแรงระหว่างขั้ว |
จากข้อมูลข้างต้นให้เรียงลำดับขนาดอะตอมของ A , D , E และ G (PAT-2 เม.ย.57)
ก. A > D > E > G
ข. D> E > G > A
ค. E > G > A > D
ง. G > A > D > E
เฉลย ข. เพราะ ธาตุ A , B , E , G น่าจะเป็นธาตุคาบ 3 Na Mg(D) Al Si(E) P S(G) Cl(A)
7. ธาตุสมมติ A , D และ E เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมเรียงกันและอยู่ในคาบ 3 พบว่าทั้งออกไซด์ของ E และไฮไดรด์ของ A , D และ E มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้องจากข้อมูลนี้ ข้อใดถูกต้อง (PAT-2 พ.ย.57)
ก. ค่า IE1 ของ D > E > A
ข. สูตรของสารประกอบออกไซด์ของ
ค. ธาตุ A , D และ E อยู่ใน 5A , 6A และ 7A ตามลำดับ
ง. เลขอะตอมของ A , D และ E คือ 13 , 14 และ 15 ตามลำดับ
เฉลย ก. เพราะ ธาตุที่ 3 ข้อมูลธาตุ E ของ ข้อ ข , ค , ง ขัดแย้ง
ค่า IE หมู่ 5 สูงกว่าหมู่ 6
8. สารประกอบฟลูออไรด์ของธาตุในคาบที่สามทั้ง 5 ชนิด คือ A , D , E , G และ J มีสูตรดังนี้
ธาตุ | สูตรของสารประกอบฟลูออไรด์ |
A | AF2 , AF4 , AF6 |
D | DF2 |
E | EF4 |
G | GF3 , GF5 |
J | JF , JF3 , JF5 |
จากข้อมูลข้างต้น ข้อใด ผิด (PAT-2 มี.ค.60)
ก. A เป็นธาตุหมู่ 3
ข. D เป็นโลหะ
ค. ออกไซด์ของ E มีสูตรเป็น EO2
ง. D และ G เกิดสารประกอบที่มีสูตรเป็น D3G2
จ. สารประกอบออกไซด์หนึ่งของ J คือ J2O7
เฉลย ก. เพราะธาตุในคาบ 3 Na Mg (D) Al Si(E) P(G) S(S) Cl(J) Ar ข้อ ก. ผิดเพราะธาตุ Ar เกิดสารประกอบกับฟลูออรีนไม่ได้
9. ธาตุสมมติ A , B , C และ D อยู่ในคาบ 2 สารประกอบของธาตุเหล่านี้มีสมบัติดังข้อมูลต่อไปนี้
I. สารประกอบไฮไดรด์ของ A มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าสารประกอบไฮไดรด์ของธาตุคาบ 3 ในหมู่ เดียวกัน และสารประกอบคลอไรด์ของธาตุ A มีสูตร ACl3
II. สารประกอบออกไซด์ของ B มีสูตรเป็น B2O และสารประกอบออกไซด์ของธาตุตัวอื่นๆในหมู่ เดียวกับ B มีสมบัติเป็นเบส
III. สารประกอบคลอไรด์ของธาตุ C มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง 25 องศา และสารประกอบนี้มี สมบัติเป็นตัวรับอิเล็กตรอนที่ดี
IV. สารประกอบไฮไดรด์ของ D มีสมบัติเป็นกรดอ่อน
จากข้อมูลข้างต้น ข้อใด ถูกต้อง (PAT-2 ธ.ค.56)
ก. เลขอะตอมของ D > C > A > B
ข. ขนาดอะตอมของ B > C > A > D
ค. พลังงานไอออไนเซซันของ D > C > A > B
ง. ความสามารถในการรับอิเล็กตรอนของ B > C > A > D
เฉลย ข. เพราะ ธาตุคาบ 2 Li --> B(Li2O) Be B --> C(BCl3) C N --> A(NH3) O F -->D(HF) Ne
A(NH3) มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเป็น H-b ส่วน PH3 มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเป็นแรงระหว่างขั้ว
C(BCl3) เป็นสารประกอบที่มีเวเลนต์อิเล็กตรอนไม่ครบ 8 จึงสามารถรับอิเล็กตรอนได้ดี
10. พิจาณาโครงสร้างของสารประกอบออกไซด์ของธาตุสมมติ A , B , C และ D ซึ่งเป็นธาตุในคาบที่ 3 ในตารางต่อไปนี้
ออกไซด์ของธาตุ | รายละเอียดของโครงสร้าง |
A | A แต่ละตัวมี O ล้อมรอบ 4 ตัว และ O แต่ละตัวมี A ล้อมรอบ 2 ตัว |
B | B แต่ละตัวมี O ล้อมรอบ 6 ตัว และ O แต่ละตัวมี B ล้อมรอบ 4 ตัว |
C | C แต่ละตัวมี O ล้อมรอบ 4 ตัว และ O แต่ละตัวมี C ล้อมรอบ 8 ตัว |
D | D แต่ละตัวมี O ล้อมรอบ 6 ตัว และ O แต่ละตัวมี D ล้อมรอบ 6 ตัว |
หมายเหตุ มีธาตุ 3 ตัวเป็นโลหะ และธาตุ 1 ตัวเป็นกึ่งโลหะ
จากข้อมูลในตาราง ข้อใดถูกต้อง (PAT-2 ต.ค.55)
ก. ขนาดของ A > B > C > D
ข. ความสามารถในการรับอิเล็กตรอนของ A > B > C > D
ค. ค่าพลังงานไอออไนเซชันอันดับ 1 ของ D > C > B > A
ง. เลขออกซิเดชันของ A , B , C และ D ในสารประกอบออกไซด์เหล่านี้เป็น +2 , +3 , +4 และ +1 ตามลำดับ
เฉลย ข. เพราะ ธาตุ A B C D เป็นธาตุคาบที่ 3 มีโลหะ 3 ตัว กึ่งโลหะ 1 ตัว แสดงว่า A , B , C , D
จะต้องเป็นธาตุหมู่ 1-4 เช่นกัน
A2O4 ----> AO2 (SiO2)
B4O6 ----> B2O3 (Al2O3)
C8O4 ----> C2O (Na2O)
D6O6 ----> DO (MgO)
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ เลขมวล เลขอะตอม และไอโซโทป
11. ธาตุ A อยู่ในคาบ 4 หมู่ 1A ธาตุ B อยู่ในคาบ 3 หมู่ 6A ธาตุ A และ B เกิดสารประกอบ AxBy จากข้อมูลข้างต้น ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง (PAT-2 มี.ค. 52)
ก. ธาตุ A มีเลขอะตอมเท่ากับ 20 ธาตุ B มีเลขอะตอมเท่ากับ 16
ข. จำนวนอิเล็กตรอนของไอออนของ A มีค่าเท่ากับ 18
ค. จำนวนนิวตรอนของธาตุ A น้อยกว่า B
ง. ธาตุ B เกิดสารประกอบโคเวเลนต์กับธาตุ H ได้สารที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง
เฉลย ข. เพราะ A อยู่คาบ 4 หมู่ 1 (การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 8 8 1)
จำนวนอิเล็กตรอนของ A+ เป็น 2 8 8
คลื่น สเปกครัม และแบบจำลองอะตอมของโบร์
12. ปรากฏการณ์ใดต่อไปนี้ที่ไม่ได้นำทฤษฏีควอนตัมของพลังงาน E = hV มาใช้ในการอธิบาย
(PAT-2 ธ.ค. 56)
ก. ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
ข. สเปกตรัมเส้นที่ได้จากอะตอมไฮโดรเจน
ค. การยิงอนุภาคแอลฟาผ่านแผ่นทอง
ง. การเปล่งแสงของวัตถุเมื่อได้รับความร้อน
เฉลย ค. เพราะการยิงอนุภาคแอลฟาผ่านแผ่นทองคำ เป็นการยิงอนุภาคบวกไปชนอนุภาคภายในอะตอม และศึกษาการเบี่ยงเบนของรังสีแอลฟา
แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก และ การจัดอิเล็กตรอน
13. ข้อความต่อไปนี้ ข้อใด ไม่ถูกต้อง (PAT-2 ก.ค. 53)
ก. ออร์บิทัลชนิด d จะเริ่มมีในระดับพลังงาน n = 3
ข. ระดับพลังงานย่อย f ในระดับพลังงาน n = 3 มีจำนวน 7 ออร์บิทัล
ค. ในระดับพลังงาน n = 3 มีจำนวนออร์บิทัลทั้งหมด 9 ออร์บิทัล
ง. ในระดับพลังงาน n = 4 มีจำนวนพลังงานย่อย 4 ระดับ
เฉลย ข. ผิดเพราะในระดับพลังงานที่ 3 ไม่มี f orbital
14. ธาตุในข้อใดมีสมบัติสอดคล้องกับข้อมูลต่อไปนี้ (PAT-2 มี.ค. 58)
1. อะตอมของธาตุนี้ในสถานะพื้นมีจำนวนอิเล็กตรอนเดี่ยว 1 ตัว
2. สูญเสียอิเล็กตรอนได้ง่ายที่สุดในคาบ
3. มีเลขอะตอมมากว่า 31 แต่น้อยกว่า 46
ก. เลขอะตอม 35A
ข. เลขอะตอม 37D
ค. เลขอะตอม 39E
ง. เลขอะตอม 41G
เฉลย ข. เพราะ เลขอะตอม 37D [Kr] 5s1 มีอิเล็กตรอนเดี่ยว 1 ตัว จ่ายอิเล็กตรอนออกไป ธาตุจะเสถียร
15. พิจารณา electron configuration ของธาตุสมบัติต่อไปนี้
A : [Ar] 4s2 3d10 4p3
B : [Ar] 4s2 3d10 4p6
C : [Kr] 5s2 4d10 5p3
D : [Kr] 5s2 4d10 5p6
ธาตุใดอยู่ในหมู่เดียวกัน (PAT-2 ต.ค. 54)
ก. A , B
ข. B , C
ค. B , D
ง. A , C
เฉลย ง. เพราะ A และ C มีเวเลนต์อิเล็กตรอนจัดเรียงเป็น 4p3 และ 5p3 ตามลำดับทั้งคู่อยู่หมู่ 5
16. ข้อใดถูกเกี่ยวกับพลังงานไอออไนเซชัน ลำดับที่ 1 ของตารางธาตุแต่ละคู่ (PAT-2 ก.ค. 53)
ก. 1H มีค่ามากกว่า 2He
ข. 11Na มีค่ามากกว่า 12Mg
ค. 18Ar มีค่ามากกว่า 19K
ง. 18Ar มีค่ามากว่า 10Ne
เฉลย ค. เพราะเวเลนต์อิเล็กตรอนของ Ar เสถียรมากกว่า K
บทสมบัติของธาตุในหมู่ต่างๆ
17. เมื่อพิจารณาจากการจัดเรียงอิเล็กตรอน ไอออนที่น่าจะมีความเสถียรมากที่สุด คือ ชนิดใด
(PAT-2 ก.ค. 52)
ก. H+
ข. He+
ค. He2+
ง. Li+
เฉลย ง. เพราะ Li+ จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 เสถียรเหมือนแก๊สเฉื่อย (He)
18. พิจารณาสมบัติของธาตุสมบัติต่อไปนี้
ธาตุ | สมบัติ |
A | มีขนาดใหญ่ที่สุดในคาบ 3 และทำปฏิกิริยากับน้ำ |
D | รับอิเล็กตรอนยากที่สุดในหมู่ VA หรือหมู่ 15 |
E | มีจำนวนอิเล็กตรอนน้อยที่สุดในตารางธาตุ |
G | มีค่าอิเล็กโทรเนกาวิตีมากที่สุดในตารางธาตุ |
J | อยู่หมู่ IVA หรือหมู่ 14 และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการควอตซ์ |
สารประกอบระหว่างธาตุคู่ใดต่อไปนี้ที่เกิดปฏิกิริยากับน้ำแล้วให้เกิดแก๊สไฮโดรเจน (PAT-2 ต.ค. 59)
ก. A และ E
ข. D และ G
ค. E และ G
ง. G และ J
เฉลย ก. เพราะ A คือ Na , D คือ N , E คือ H , G คือ F , J คือ Si
NaH + H2O ----> NaOH + H2
19. พิจารณาสัญลักษณ์อะตอมของธาตุสมมติต่อไปนี้ 16A , 17B , 19C , 20D , 35E ข้อใดผิด
เกี่ยวกับสมมติของธาตุเหล่านี้ (PAT-2 ธ.ค. 56)
ก. ธาตุที่ว่องไวในการเกิดปฏิกิริยากับน้ำมากที่สุดคือ C
ข. B เป็นธาตุที่รับอิเล็กตรอนได้ง่ายที่สุด
ค. ขนาดของ C > D > E > A > B
ง. สารประกอบระหว่าง A และ B คือ AB3 , AB4 , AB6
เฉลย ง. เพราะ A คือ S ส่วน B คือ Cl ไม่พบสาร SCl3 เนื่องจาก S มีอิเล็กตรอนเดี่ยวสารประกอบดังกล่าวไม่เสถียร
บทธาตุ Transition
20. ข้อใดเป็นการจัดเรียงอิเล็กตรอนของ 24Cr3+ (PAT-2 ต.ค.53)
ก. 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s1 3d2
ข. 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d3
ค. 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d1
ง. 1s2 2s2 2p6 3s2 3p3 4s1 3d5
เฉลย ข. เพราะ 24Cr = [Ar] 4s1 3d5
24Cr3+ = [Ar] 3d3
ที่มา:คลิกที่นี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น